การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย
(Cognitive)
Bloom และคณะได้แบ่งพฤติกรรมทางพุทธิพิสัยออกเป็น 6
ขั้น โดยเรียงจากพฤติกรรมต่ำสุดถึงสูงสุด
และพฤติกรรมแต่ละขั้นมีวิธีการเขียนข้อสอบวัดดังนี้
ความรู้ความจำ (Knowlege)
ความสามารถในการเก็บรักษามวลประสบการณ์ต่าง ๆ
จากการที่ได้รับรู้ไว้และระลึกสิ่งนั้นได้เมื่อต้องการเปรียบดังเทปบันทึกเสียงหรือวีดิทัศน์ที่สามารถเก็บเสียงและภาพของเรื่องราวต่างๆได้
สามารถเปิดฟังหรือ ดูภาพเหล่านั้นได้ เมื่อต้องการ แบ่งได้ 3 ประเภท
1. ความรู้ในเนื้อเรื่อง เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ได่้แก่ ความรู้เกี่ยวกับศัพท์นิยาม ความรู้เกี่ยวกับกฏและความจริง
2. ความรู้ในวิธีดำเนินการ ได้แก่ วิธีประพฤติปฏิบัติและวิธีดำเนินการในกิจการงานและเรื่องราว
มี 5 วิธีด้วยกัน
2.1 ความรู้เกี่ยวระเบียบแบบแผนขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นการถามถึงวิธีประพฤติปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนและธรรมเนียมประเพณีต่างๆ
2.2 ความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นและแนวโน้ม เป็นการถามถึงลักษณะการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนของการปฏิบัติงาน หรือของเรื่องเหตุการณ์ต่างๆ ว่ามีลักษณะใดเกิดก่อน-หลัง
2.3 ความรู้เกี่ยวกับการจัดประเภท เป็นความสามารถในการจำแนกแจกแจงวัตถุสิ่งของและเรื่องราวใดๆให้เป็นหมวดหมู่
2.4 ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ มีจุดหมายเพื่อจะวัดว่าจดจำหลักการในการตรวจข้อเท็จจริงต่างๆ
2.5 ความรู้ในวิธีดำเนินการ ต้องการวัดว่านักเรียนสามารถจดจำวิธีปฏิบัติงานด้านต่างๆตามหลักวิชา และสามารถประพฤติปฏิบัติตามที่สอนไว้ได้หรือไม่
3. ความรู้รวบยอดในเนื้อเรื่อง หมายถึง สมรรถภาพ 2 ชนิด ชนิดแรกเป็นความสามารถที่กลั่นเก็บเอาแต่คติ และหลักวิชาของเนื้อหาต่างๆ ชนิดที่สองเป็นความสามารถที่จะขยายคติที่ได้นั้นออกไปสู่สิ่งอื่นหรือสถานการณ์อื่น
3.1 ความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาและการขยายหลักวิชา เป็นคำถามที่ต้องการจัดว่าเด็กจดจำความรู้รวบยอดที่เป็นคติ และหลักวิชาของเนื้อหาต่างๆ
3.2 ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้าง คำถามชนิดนี้จะเกี่ยวกับคติและหลักการจากสิ่งของหลายสิ่ง หลายเนื้อหาที่สัมพันธ์กันเป็นพวกเดียวกันและอยู่ในสกุลเดียวกัน
ตัวอย่างข้อสอบ
ใครคือบิดาแห่งคอมพิวเตอร์
1. สตีฟ จ๊อบ 3. ชาร์ล แบบเบจ
2. มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก 4. ชาร์ล ดาวิน

คือ
ความสามารถในการขยายความรู้ความจำให้ไกลออกไปจากเดิมอย่างสมเหตูสมผล แยกเป็น 3
ขั้น
1. การแปลความ คือ
แปลความหมายของคำ
ข้อความสัญลักษณ์ในแง่มุมใหม่ตามนัยของเนื้อเรื่องและหลักวิชานั้นๆ
2. การตีความ
เป็นการเอาความหมายจากการแปลที่งหมดมารวมกัน แล้วสรุปหรือขยายตามแนวใหม่
3. การขยายความ หมายถึง
การขยายความคิดให้กว้างไกลจากข้อเท็จจริง โดยจะต้องให้ข้อมูลหรือแนวโน้มอย่างเพียงพอ
จนนักเรียนสามารถนำข้อมูล ข้อเท็จจริง เค้าเรื่องต่างๆ เหล่านั้นมา
แปล - ตี - ขยาย
ได้อย่างสมเหตุสมผล
ตัวอย่างข้อสอบ
หากตอนนั้นเป็นเวลา 10.00 น. ฉันกินข้าวผ่านมาแล้ว 3 ชม.
หลังจากนั้นอาบน้ำผ่านมา
1.50 ชม. สรุปฉันอาบน้ำตอนกี่โมง
1. 11.00 น.
3. 10.00 น.
2. 10.50 น.
4. 09.50 น.
การนำความรู้ไปใช้ (Application)
เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้ในกแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ
ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้ ลักษณะของคำถาม เป็นเรื่องราวปัํญหาใหม่ๆ หรือดัดแปลงของเดิมบ้าง การตั้งคำถามต้องซ่อนเงื่อนทำให้เิดปัญหาทั้งๆที่เรียนรู้มาแล้ว แต่ก็ยังตอบไม่ได้ทันที เพราะมีเงื่อนไขปมขัดขวาง คำถามต้องเกี่ยวพันธ์กับหลักวิชา หรืออะไรอีกอย่างหนึ่ง
ตัวอย่างข้อสอบ
คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร?
1. การถอนเงินจากเครื่อง ATM 2. การจับจ่ายซื้อของในห้างสรรพสินค้าโดยใช้บัตรเครดิต
2. การสำรองที่นั่งเครื่องบินสื่อสาร 4. ถูกทุกข้อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น