สืบเนืองจากที่ อาจารย์ขจรพงษ์ ร่วมแก้ว ให้ไปดูหนังเรื่อง Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง และให้สรุปว่าเนื้อเรื่องมีความเกี่ยวข้องกับทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธิปัญญาในด้านใดบ้าง
ในหนังเรื่อง Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง จะพูดถึงเรื่องของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งจะเกิดการเรียนรู้ตั้งแต่ลืมตาดูโลก สมองจะคอยจดจำเรื่องราวต่างมีการเรียนรู้ในเรื่องราวต่างๆ อารมณ์และความรู้สึกจะถูกสั่งการโดยสมอง โดยจะสอดคล้องกับทฤษฎีของเพียเจต์ บลูเนอร์ และออซูเบล ซึ่งจะมีเชาว์ปัญญาตามอายุของมนุษย์ในระยะเวลาตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ขวบ พัฒนาการทางสมองเด็กจะเริ่มเรียนรู้จากการมีปฏิสมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และเริ่มเรียนรู้ถูกผิดด้วยการใช้ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของร่างกาย และเมื่อโตขึ้นมาในอีกระดับหนึ่งการพัฒนาความคิดสมองจะมีการจดจำเรื่องราวที่ผ่านเข้ามาโดยมีการแบ่งความจำเป็นแบบความจำระยะสั้น ความจำระยะยาวโดยจะสอดคล้องกับทฤษฏีประมวลผลสารสนเทศ จะแบ่งความทรงจำที่ผ่านเข้ามาเป็นความทรงจำหลักและความทรงจำรอง เมื่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดนึกถึงความทรงจำหลักสมองก็จะประมวลผลและทำให้คิดถึงความทรงจำเหล่านั้นขึ้นมา ซึ่งแตกต่างจากความทรงจำรองที่เมื่อผ่านเข้ามาแล้วก็จะลืมเพราะไม่มีอะไรที่สำคัญ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์บางอย่างขึ้นความจำเหล่านี้อาจจะผุดขึ้นมาในสมองแต่จะแตกต่างจากความทรงจำระยะยาวเพราะนึกถึงแค่ส่วนน้อยและจำไม่ค่อยได้จากนั้นอาจจะเลือนหายไปและลืมไปในที่สุด แล่ะสุดท้ายเมื่อเด็กอายุได้ 11 ขวบ เริ่มจะมีการพัฒนาด้านความคิดมากขึ้นสามารถที่จะคิดอย่างมีเหตุผลและมัการแก้ปัญหา ในขั้นนี้อารมณ์และความรู้สึกจะแสดงออกได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และเมื่อถึงตอนสุดท้ายของเรื่องสมองได้สั่งการให้แสดงอารมณ์และความรู้สึกออกมาให้พ่อกับแม่ของเด็กได้รับรู้ว่าตอนนี้เด็กรู้สึกยังไง และผลสุดท้ายเด็กก็จะรับรู้ เข้าใจ และเก็บไว้ในความทรงจำระยะยาวต่อไป
Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง
http://1st-beautyshop.com/2015/06/29/inside-out-2015-%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%87/
วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558
วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behavioral Teories)
การเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธิ์กับสิ่งแวดล้อม
กลุ่มพฤติกรรมนิยม (ฺBehavioral หรือ S-R Associationism) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า(Stimulus) กับการตอบสนอง(Response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง และถ้าหากได้รับการเสริมแรงจะทำให้มีการแสดงพฤติกรรมนั้นถี่มากขึ้น
นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนยมที่สำคัญ และมีผลงานมากที่สุดในด้านเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน ได้แก่ Pavlov, Watson, Thorndike และ Skinner ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมีพื้นฐานความคิด(Assumption) ที่สำคัญ ได้แก่ 1)พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสังเกตได้
2) พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนที่เป็นอิสระหลายอย่าง 3)การเสริมแรง(Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้
นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมได้จำแนกพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.) พฤติกรรมเรสปอนเดนส์(Response Behavior) พฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า ซึ่งสามารถวัดและสังเกตได้
2.) พฤติกรรมโอเปอแรนซ์(Operant Behavior) พฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา(Emitted)โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)
แนวคิดของพาฟลอฟ(Pavlov)
ในการวิจัยเกี่ยวกับการย่อยอาหารของสุนัข พาฟลอฟสังเกตสุนัขมีน้ำลายไหลออกมาเมื่อเห็นผู้ทดลองนำอาหารมาให้ พาฟลอฟสนใจในพฤติกรรมน้ำลายไหลของสุนัขก่อนได้รับอาหารมากจึงได้คิดทำการศึกษาเรื่องนี้อย่างมีระเบียบ การทดลองสามารถแสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยการทดลองทำให้สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง พาฟลอฟได้พบหลักฐานการเรียนรู้ ที่เรียกว่า Classical Conditioning
วัตสันได้ให้ข้อสังเกตว่าโดยธรรมชาติของเด็กเล็กๆ จะกลัวเสียงที่ดังขึ้นอย่างกะทันหัน แต่มักจะไม่กล้วสัตว์เลี้ยงประเภทหนูหรือกระต่าย ในการดำเนินการทดลองโดยปล่อยให้อัลเบิร์ตอยู่กับหนูขาว ขณะที่อัลเบิร์ตเอื้อมมือไปจะจับหนูขาวก็ใช้ฆ้อนเคาะแผ่นเหล็กให้เสียงดังขึ้น ทำให้เสียงดังกล่าวเป็นสิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข(UCS) ทำเกิดให้เกิดการตอบสนองที่ไม่ต้องการวางเงื่อนไข (UCR)คือความกลัว ต่อมาวัตสันได้แก้ความกลัวของหนูอัลเบิร์ต โดยให้แม่ของหนูน้อยอุ้มในขณะที่นักจิตวิทยามาให้อัลเบิร์ตจับตอนแรกจะร้องไห้แต่พอแม่ปลอบว่าไม่น่ากลัว พร้อมกับเอามืออัลเบิร์ตไปจับหนูขาวแล้วลูบตัวจนกระทั่งหนูน้อยหายกลัวหนูขาว
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ (Operant Conditioning Theory)
แนวคิดของธอร์นไดค์(Thorndike)
เป็นบิดาแห่งจิตวิทยา เชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้จากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง เรียกว่า S-R Model อีกทั้งให้ความสำคัญต่อการให้การเสริมแรง และการตอบสนองเพิ่มขึ้นโดยเน้นการให้รางวัลมากกว่าการลงโทษ
กลุ่มพฤติกรรมนิยม (ฺBehavioral หรือ S-R Associationism) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า(Stimulus) กับการตอบสนอง(Response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง และถ้าหากได้รับการเสริมแรงจะทำให้มีการแสดงพฤติกรรมนั้นถี่มากขึ้น
นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนยมที่สำคัญ และมีผลงานมากที่สุดในด้านเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน ได้แก่ Pavlov, Watson, Thorndike และ Skinner ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมีพื้นฐานความคิด(Assumption) ที่สำคัญ ได้แก่ 1)พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสังเกตได้
2) พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนที่เป็นอิสระหลายอย่าง 3)การเสริมแรง(Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้
นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมได้จำแนกพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.) พฤติกรรมเรสปอนเดนส์(Response Behavior) พฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า ซึ่งสามารถวัดและสังเกตได้
2.) พฤติกรรมโอเปอแรนซ์(Operant Behavior) พฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา(Emitted)โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)
แนวคิดของพาฟลอฟ(Pavlov)
ในการวิจัยเกี่ยวกับการย่อยอาหารของสุนัข พาฟลอฟสังเกตสุนัขมีน้ำลายไหลออกมาเมื่อเห็นผู้ทดลองนำอาหารมาให้ พาฟลอฟสนใจในพฤติกรรมน้ำลายไหลของสุนัขก่อนได้รับอาหารมากจึงได้คิดทำการศึกษาเรื่องนี้อย่างมีระเบียบ การทดลองสามารถแสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยการทดลองทำให้สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง พาฟลอฟได้พบหลักฐานการเรียนรู้ ที่เรียกว่า Classical Conditioning
ก.เมื่อเห็นอาหารสุนัขน้ำลายไหล
ข.เมื่อสั่นกระดิ่งและให้อาหาร สุนัขน้ำลายไหล
ง.เมื่อสั้นกระดิ่งสุนัขน้ำลายไหล
แนวคิดของวัตสัน(Watson)
พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมทำให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กักับสิ่งเร้าธรรมชาติ และการเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่วมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ เมื่อสามารถทำให้พฤติกรรมใดๆนั้นเกิดขึ้นได้ก็สามรถลดพฤติกรรมนั้นให้หายได้
วัตสันได้ให้ข้อสังเกตว่าโดยธรรมชาติของเด็กเล็กๆ จะกลัวเสียงที่ดังขึ้นอย่างกะทันหัน แต่มักจะไม่กล้วสัตว์เลี้ยงประเภทหนูหรือกระต่าย ในการดำเนินการทดลองโดยปล่อยให้อัลเบิร์ตอยู่กับหนูขาว ขณะที่อัลเบิร์ตเอื้อมมือไปจะจับหนูขาวก็ใช้ฆ้อนเคาะแผ่นเหล็กให้เสียงดังขึ้น ทำให้เสียงดังกล่าวเป็นสิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข(UCS) ทำเกิดให้เกิดการตอบสนองที่ไม่ต้องการวางเงื่อนไข (UCR)คือความกลัว ต่อมาวัตสันได้แก้ความกลัวของหนูอัลเบิร์ต โดยให้แม่ของหนูน้อยอุ้มในขณะที่นักจิตวิทยามาให้อัลเบิร์ตจับตอนแรกจะร้องไห้แต่พอแม่ปลอบว่าไม่น่ากลัว พร้อมกับเอามืออัลเบิร์ตไปจับหนูขาวแล้วลูบตัวจนกระทั่งหนูน้อยหายกลัวหนูขาว
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ (Operant Conditioning Theory)
แนวคิดของธอร์นไดค์(Thorndike)
เป็นบิดาแห่งจิตวิทยา เชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้จากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง เรียกว่า S-R Model อีกทั้งให้ความสำคัญต่อการให้การเสริมแรง และการตอบสนองเพิ่มขึ้นโดยเน้นการให้รางวัลมากกว่าการลงโทษ
ธอร์นไดค์จับแมวที่กำลังหิวใส่กรงแล้วให้แมวลองผิดลองถูกหาทางออกมาเพื่อจะมากินอาหารที่วางอยู่ข้างนอก และแมวบังเอิญไปจับถูกสลักและสามารถเปิดประตูออกมากินอาหารได้ ธอร์นไดค์เรียกการเรียนรู้ของแมวว่าเป็นการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก(Trial and Error) ไม่ใช่การใช้สิปัญญาในการแก้ปัญหา
แนวคิดของสกินเนอร์(Skinner)
การกระทำใดๆถ้าได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่ทำให้เกิดการกระทำนั้นอีก ส่วนการกระทำใดที่มีการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่ทำให้เกิดการกระทำนั้นอีก ส่งนการกระทำใดที่ไม่มีการเสริมแรงย่อมมีแนวโน้มที่จะทำให้ความถี่ของการกระทำนั้น ค่อยๆหายไปและหายไปในที่สุด
สกินเนอร์ได้ทดลองนำหนูหิวเข้าไปอยู่ในกล่องทดลองซึ่งภายในจะมีคานที่หนูกดแล้วจะมีอาหารให้กินพร้อมกับเงื่อนไขที่มีดังแกรก ผลการทดลองปรากฎว่า เมื่อหนูวิ่งไปวิ่งมาแล้วบังเอิญไปกดถูกคานเข้าจะมีเสียงดังแกรกและหลังจากนั้นจะมีอาหารหล่นลงมา หนูจะรีบหยิบกินทันที จากนั้นหนูก็จะวิ่งเฝ้ามากดคานเพื่อจะคอยรับอาหาร แต่ถ้ากดคานแล้วไม่มีอาหารหล่นมาลงมาหนูจะกดแค่ 2-3 ครั้งเท่านั้น แล้วก็จะเลิกกดไปทันที
วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558
คำถามท้ายบทที่ 1
1.MOOCs (Massive Open Online Courses) ถือเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาประเภทใด และเพราะอะไร
ตอบ MOOCS เป็นนวัตกรรมสื่อการสอน เพราะ MOOCs เป็นสื่อการสอนแบบออนไลน์ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นสื่อที่ใช้ฝึกทักษะ
..............................................................................................
2.ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาแบ่งออกได้กี่ประเภทและแต่ล่ะประเภทมีข้อดีอย่าไร
ตอบ แบ่งออกได้ 5 ประเภท ได้แก่
1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
ข้อดี
- มีการพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมท้องถิ่นในปัจจุบัน
- ตอบสนองความต้องการสอนของบุคคลได้ดี
- มีการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
2. นวัตกรรมการเรียนการสอน
ข้อดี
- มีการสอนรูปแบบใหม่
- ตอบสนองการเรียนรายบุคคลได้
3. นวัตกรรมสื่อการสอน
ข้อดี
- มีความสะดวกในการเรียนการสอน
- มีสื่อการสอนที่ผลิตใหม่ๆ
4. นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล
ข้อดี
- วัดและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว
5. นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ
ข้อดี
- ช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารมีความสะดวกรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก
................................................................................................................
3.สมมติว่านักศึกษาไปเป็นครูประจำการ นักศึกษาจะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาใดเข้ามาช่วยในการจัดการในเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคล(Individual Different) ของผู้เรียนที่นักศึกษาได้ไปสอนและเพราะเหตุใดจึงเลือกนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษานั้น
ตอบ เลือกนำนวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เพราะ นวัตกรรมด้านนี้จะแบ่งการพัฒนาหลักสูตรเป็น 4 หลักสูตรซึ่งประกอบไปด้วย หลักสูตรบูรณาการ หลักสูตรรายบุคคล หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ และหลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรเหล่านี้จะสามารถจัดการความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน มีการออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับผู้เรียนโดยให้สอดคล้องกับคุณธรรมจริยธรรม มีการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ
..........................................................................................
4.ทำไมนักศึกษาวิชาชีพครูจึงต้องเรียนรู้และเข้าใจเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
ตอบ เพราะ จะได้เข้าใจกระบวนการและวัตถุประสงค์ของการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงจำเป็นต้องศึกษานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อนำไปพัฒนาสื่อได้อย่างถูกต้อง
....................................................................................................
5.นักศึกษายกตัวอย่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาแพร่หลายในปัจจุบันพร้อมอธิบายข้อดีและข้อจำกัด ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษานั้นๆมา 1 ประเภท
ตอบ นวัตกรรมสื่อการสอน เป็นที่แพร่หลายและนิยมใช้กันในปัจจุบัน
ข้อดี
- วิธีเรียนที่ดีที่สุดสำหรับบางคน อย่างเช่น การอ่าน
- สามารถอ่านได้ตามสมรรถภาพของแต่ละบุคคล
- เหมาะสมสำหรับการอ้างอิงหรือทบทวน
- เหมาะสำหรับการผลิตเพื่อแจกจ่ายเป็นจำนวนมาก
- ช่วยในการดึงดูดความสนใจ
- ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ร่วมกัน
ข้อจำกัด
- ต้นทุนผลิตค่อนข้างสูง
- บางครั้งข้อมูลล้าสมัย
- ต้องอาศัยความชำนาญในการผลิต
- ชำรุดเสียหายง่าย
...............................................................................................
1.MOOCs (Massive Open Online Courses) ถือเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาประเภทใด และเพราะอะไร
ตอบ MOOCS เป็นนวัตกรรมสื่อการสอน เพราะ MOOCs เป็นสื่อการสอนแบบออนไลน์ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นสื่อที่ใช้ฝึกทักษะ
..............................................................................................
2.ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาแบ่งออกได้กี่ประเภทและแต่ล่ะประเภทมีข้อดีอย่าไร
ตอบ แบ่งออกได้ 5 ประเภท ได้แก่
1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
ข้อดี
- มีการพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมท้องถิ่นในปัจจุบัน
- ตอบสนองความต้องการสอนของบุคคลได้ดี
- มีการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
2. นวัตกรรมการเรียนการสอน
ข้อดี
- มีการสอนรูปแบบใหม่
- ตอบสนองการเรียนรายบุคคลได้
3. นวัตกรรมสื่อการสอน
ข้อดี
- มีความสะดวกในการเรียนการสอน
- มีสื่อการสอนที่ผลิตใหม่ๆ
4. นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล
ข้อดี
- วัดและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว
5. นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ
ข้อดี
- ช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารมีความสะดวกรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก
................................................................................................................
3.สมมติว่านักศึกษาไปเป็นครูประจำการ นักศึกษาจะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาใดเข้ามาช่วยในการจัดการในเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคล(Individual Different) ของผู้เรียนที่นักศึกษาได้ไปสอนและเพราะเหตุใดจึงเลือกนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษานั้น
ตอบ เลือกนำนวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เพราะ นวัตกรรมด้านนี้จะแบ่งการพัฒนาหลักสูตรเป็น 4 หลักสูตรซึ่งประกอบไปด้วย หลักสูตรบูรณาการ หลักสูตรรายบุคคล หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ และหลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรเหล่านี้จะสามารถจัดการความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน มีการออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับผู้เรียนโดยให้สอดคล้องกับคุณธรรมจริยธรรม มีการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ
..........................................................................................
4.ทำไมนักศึกษาวิชาชีพครูจึงต้องเรียนรู้และเข้าใจเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
ตอบ เพราะ จะได้เข้าใจกระบวนการและวัตถุประสงค์ของการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงจำเป็นต้องศึกษานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อนำไปพัฒนาสื่อได้อย่างถูกต้อง
....................................................................................................
5.นักศึกษายกตัวอย่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาแพร่หลายในปัจจุบันพร้อมอธิบายข้อดีและข้อจำกัด ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษานั้นๆมา 1 ประเภท
ตอบ นวัตกรรมสื่อการสอน เป็นที่แพร่หลายและนิยมใช้กันในปัจจุบัน
ข้อดี
- วิธีเรียนที่ดีที่สุดสำหรับบางคน อย่างเช่น การอ่าน
- สามารถอ่านได้ตามสมรรถภาพของแต่ละบุคคล
- เหมาะสมสำหรับการอ้างอิงหรือทบทวน
- เหมาะสำหรับการผลิตเพื่อแจกจ่ายเป็นจำนวนมาก
- ช่วยในการดึงดูดความสนใจ
- ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ร่วมกัน
ข้อจำกัด
- ต้นทุนผลิตค่อนข้างสูง
- บางครั้งข้อมูลล้าสมัย
- ต้องอาศัยความชำนาญในการผลิต
- ชำรุดเสียหายง่าย
...............................................................................................
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)